ในปัจจุบันเสียงเพลงและดนตรีเข้ามามีบทบาทในชีวิตของเรามากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเพลงไม่ได้เป็นเพียงแค่สิ่งที่ให้ความเพลิดเพลินเพียงอย่างเดียวแต่ยังเป็นทั้ง “สื่อ” ที่มีการถ่ายทอดสารต่างๆ ที่ทำให้เรารู้สึก สนุก ตระหนัก ซาบซึ้ง ฯลฯ ควบคู่ไปกับเสียงดนตรีซึ่งขึ้นอยู่กับแนวเพลงและดนตรีนั้นๆจะถ่ายทอดออกมา เพราะฉะนั้น เพลงจึงเป็นสิ่งที่แทบจะเป็นสิ่งที่เราฟังร่วมกับกิจกรรมอื่น เช่น การฟังเพลงขณะทำงาน ขับรถเพื่อให้รู้สึกหน้าเบื่อกับกิจกรรมเดิมๆหรืองานๆที่ทำ บางคนอาจจะฟังเพลงตอนอ่านหนังสือ (เพลงบางประเภทอย่างเพลงแจ๊ส หากเปิดคลอก็ช่วยเพิ่มสมาธิได้) หรือ ฟังเพลงตอนนอนเพื่อให้หลับได้อย่างผ่อนคลายมากขึ้น และแน่นอนยังรวมไปถึงการฟังเพลงตอนออกกำลังกาย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยและตัวกระตุ้นให้ผู้ฟังมีความรู้สึกอยากออกกำลังกายมากขึ้นและไม่รู้สึกเบื่อหน่าย โดยการฟังเพลงระหว่างออกกำลังกายมีข้อดี ดังนี้

            เสียงเพลงทำให้ลืมความเหนื่อยล้าไปชั่วขณะหรือรู้สึกเหนื่อยน้อยลง

          เมื่อเราฟังเพลงขณะออกกำลังกายนั้น เสียงเพลงจะ “เบี่ยงเบน” ความสนใจของร่างกายในเรื่องของการออกแรง อาการเจ็บปวด รวมไปถึงความเมื่อยล้าในขณะที่ทำกิจกรรมอยู่ ทำให้เราสามารถออกกำลังกายได้ยาวนานขึ้น โดยมีรายงานการวิจัยในประเทศอังกฤษเผยให้เห็นว่าคนที่ฟังเพลงขณะออกกำลังกายจะสามารถออกกำลังได้นานขึ้นถึง 15% เลยทีเดียว โดยหากเป็นเพลงที่สามารถฮัมหรือขยับปากตามเนื้อเพลงได้จะยิ่งเบี่ยงเบนได้ดี

            จังหวะดนตรียิ่งเร็ว ยิ่งเร้า ยิ่งเบิร์นแคลอรี่ได้มาก

          แน่นอนว่าคนออกกำลังกายทั่วไป จังหวะของเพลงที่ 120-140 ครั้งต่อนาที จะดีต่อการออกกำลังกายมากที่สุด เพราะเสียงเพลงและดนตรีจะกระตุ้นความรู้สึกเราให้มีความรู้สึกอยากเคลื่อนไหว โดยมีการศึกษาในปี 2010 ถึงการฟังเพลงของนักปั่นจักรยานโดยเปรียบเทียบความเร็วในการปั่นของนักจักรยาน 2 กลุ่ม โดยให้กลุ่มนึงฟังเพลงเร็ว อีกกลุ่มนึงฟังเพลงช้า ผลปรากฏว่านักจักรยานที่ฟังเพลงเร็วจะปั่นจักรยานได้เร็วและหนักหน่วงกว่า ทำให้สามารถเบิร์นแคลอรี่ได้มากกว่านั่นเอง อย่างไรก็ตามหากเป็นกลุ่มคนที่มีปัญหาเรื่องหัวใจ ควรเลือกใช้เพลงที่มีจังหวะช้า เช่นเพลงคลาสสิค หรือแจ๊ส เพื่อช่วยลดการทำงานของหัวใจ ทำให้ออกกำลังกายได้นานขึ้น

          ควบคุม Pace ของคุณผ่านจังหวะของเสียงเพลง

          ในเวลาที่เราฟังเพลงขณะออกกำลังกายแล้วของการยกเวทหรือก้าวท้าวตอนวิ่งเป็นไปตามจังหวะตีกลองของเพลง นั่นก็เพราะจังหวะของเพลงมีผลต่อการทำงานของสมองที่กระตุ้นให้ร่างกายขยับ ดังนั้นการฟังเพลงสามารถช่วยให้คุณควบคุม Pace หรือจังหวะการออกกำลังกายที่ต่อเนื่องได้ดีขึ้นนั่นเอง ยิ่งปัจจุบัน Application ที่เกี่ยวกับการออกกำลังกายมีระบบในการตรวจจับอัตราความเร็วของการวิ่งหรือเคลื่อนไหวและการทำงานของหัวใจ ทำให้เล่นเพลงที่เหมาะสมกับจังหวะการออกกำลังกายของเรามากขึ้นนั่นเอง